มะขามป้อม
ชื่ออื่น กำทวด(ราชบุรี)กันโตด กำทอด (เขมร -จันทบุรี) มั่งลู่ สันยาวส่า (กระเหลี่ยงแม่ฮ่องสอน) อิ่ว อำโบเหล็ก(จีน)
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
   ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ ๗ เมตร เปลือกค่อนข้างเรีบยเกลี้ยง
   ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงกันเป็น ๒ แถวคล้ายขนนก ลักษณะใบย่อยเป็นใบขนาดเล็ก ปลายใบแหลมยาวรี มีสีเขียวแก่
   ดอก ออกดอกเป็นช่อ หรือเป็นกระจุกเล็กๆ ดอกหนึ่งมีกลีบดอก ๕-๖ กลีบ กลางดอกมีเกสรตัวผู้สั่นๆ ๓-๕ อันดอกมีสีเหลืองๆ เขียว ๆ ก้านดอกสั่น
   ผล รูปรางกลม เกลี้ยง มีรอยแยกแบ่งเป็น ๖ ซีก เนื้อในผลมีสีเหลืองออกน้ำตาลเมื่อแก่ ผลอ่อนมีสีเขียวออกเหลือง ในเนื้อผลมีเมล็ดสีน้ำตาล
การใช้ประโยชน์
ใช้เป็นอาหาร ผลแก่จัด รับประทานเป็นผลไม้ ทำผลไม้กวน แช่อิ่ม และทำน้ำผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ ผลมะขามป้อมมีวิตามินซีสูงมาก วิตามินอี มีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีกรดอินทรีย์ มีสารฝาดสมานและอื่นๆ
ใช้เป็นยาเปลือกลำต้น ใช้เปลือกที่แห้งแล้วบดให้เป็นผลละเอียด โรยแก้บาดแผลเลือดออก และแผลฟกช้ำ ใบ ใช้ใบสดมาต้มกินแก้บวมน้ำ นำมาตำหรือพอกบริเวณแผลผื่นคันมีน้ำหนอง น้ำเหลือง และผิวหนังอักเสบ ผล ใช้ผลสด เป็นยาบำรุง ทำให้สดชื่น แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้หวัด ช่วยระบาย ขับปัสสาวะแก้เลือดออกตามไรฟัน และคอแห้ง ผลแห้งบดเป็นผงชงกินแก้โรคหนองใน แก้ตกเลือดท้องเสีย โรคบิด โรคดีซ่านและโรคโลหิตจาง ราก ต้มกินแก้ร้อนใน แก้โรคเรื้อน แก้ความดันโลหิตสูง และแก้ท้องเสีย




น้ำมะขามป้อม
ส่วนผสม
มะขามป้อมแก่จัด ถ้วย
น้ำสะอาด ถ้วย
น้ำเชื่อม ๑/๓ ถ้วย
เกลือป่น ถ้วย
น้ำแข็ง
วิธีทำ
   นำมะขามป้อมแก้จัด ล้างน้ำให้สะอาดแกะเมล็ดออก ใส่เครื่องปั่นเติมน้ำ เติมน้ำเชื่อม เกลือป่น
ชิมรสตามใจชอบ จะได้น้ำผลไม้สีนวลๆ ขุ่น รสหวาน เปรี้ยว เค็ม และฝาดเล็กน้อย เวลาดื่มเติมน้ำแข็งบดละเอียด ดื่มแล้วชุ่มคอ



อ้างอิง